google app for education

Google Apps for Education

  • Google Plus – plus.google.com : คือระบบ social network จาก google ที่สามารถแชร์เรื่องราวต่างๆ ให้กับเพื่อนๆ ได้ รวมทั้งยังสามารถประชุม นำเสนองานแบบถ่ายทอดสดหรือพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านท่าง Google Hangouts ได้
  • Google Sites – sites.google.com : เป็นบริการ personnel website จากระบบสร้างเว็บไซต์อัตโนมัติ ซึ่งท่านสามารถสร้างเว็บไซต์ โดยใช้เครื่องมือของ google สร้างเว็บไซต์ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที
  • Gmail – mail.google.com : บริการ email application ภายใต้ domain @ccollege.ac.th พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด มีการทำงานร่วมกับ google drive เมื่อมีการแนบไฟล์ขนาดใหญ่
  • Google Calendar – calendar.google.com : โปรแกรมจัดการตารางเวลา-บันทึกกิจกรรม และทำการนัดหมาย ทำให้ไม่พลาดทุกการแจ้งเตือน ยังสามารถแชร์ตารางกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นในองค์กรได้
  • Google Drive  – drive.google.com : พื้นที่จัดเก็บเอกสาร ไฟล์ รูปภาพต่างๆ พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด ยังสามารถแชร์ไฟล์กับบุคคลอื่นได้
  • Google Docs, Sheets, Slides – docs.google.com :บริการระบบเอกสาร online ในรูปแบบ document / Form /spreadsheet / presentation หรือ upload ไฟล์เอกสารต่าง ๆ ขึ้นบนระบบ doc และสามารถแชร์ เอกสารต่าง ๆที่สร้างขึ้น หรือ upload เข้ามาเหล่านี้ ให้ผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกโดเมนได้
  • Google Classroom – classroom.google.com : เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาถูกออกมาเพื่อให้ครูมีเวลาที่ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนมากขึ้นในขณะเดียวกันนักเรียนก็มีเวลาค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้มากขึ้นด้วย
  • Google Hangout – hangout.google.com : Hangouts เป็น Application Chat ที่มีความสามารถในการพิมพ์แชทกันเหมือน Line, Whatsapp, และอื่นๆทั่วไป แต่จะมีความสามารถพิเศษในการ Hangout ที่เป็น concept ของ Google+ เข้ามาด้วย ซึ่งจะเรียกว่าเป็น Video Call โดยจะสามารถ Call หากันได้ทีละหลายๆคนด้วย

Google App for Education เปิดตัวแอปใหม่สำหรับการสำรองข้อมูล

บริการ Google Drive File Stream แจกพื้นที่เก็บไฟล์ขนาด 1 EB. (Exabyte) เท่ากับ 1 พันล้าน GB ให้กับคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา วิทยาลัยฯ ทุกท่าน ผ่าน account @ccollege.ac.th

สำหรับ windows คลิ้กที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ setup  (*รองรับเฉพาะ windows 7 ขึ้นไป,ไม่รองรับ windows server)

สำหรับ MAC คลิ้กที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ setup (* El Capitan (10.11))

 

              เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ login ด้วย account sutg.dot (@g.sut.ac.th) จะเห็นเป็น drive ใหม่ในเครื่องขนาด 1 EB ใช้งานเก็บไฟล์เหมือนกับ Flash Drive เปิดใช้งานได้ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป

 –  คลิ้กที่นี่เพื่อดาวน์โหลดวิธีการติดตั้ง -คู่มือการใช้งาน

– หากยังไม่มี account ทำการสมัคร account @ccollege.ac.th โดยการติดต่องานศูนย์ข้อมูลฯ

Sample Data-Articles

การใช้งาน google Classroom

Google Classroom จะรวมเอาบริการของ Google ที่มีอยู่ อย่าง Drive, Docs และ Gmail เข้ามารวมไว้ด้วยกัน และนำเสนอออกมาเป็นระบบเดียวแบบครบวงจร เพื่อเป็นเครื่องมือให้ อาจารย์ผู้สอนได้สามารถใช้ประโยชน์ในการสั่งงานและเก็บรวบรวมผลงานต่างๆของลูกศิษย์ อีกทั้งยังจะช่วยให้นักศึกษาสามารถส่งงานได้ทันทีผ่านทางออนไลน์ ในขณะที่ อาจารย์ผู้สอนเองก็สามารถตรวจการบ้าน พร้อมให้ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย โดย อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างหน้าห้องเรียนขึ้นมา และเพิ่มนักเรียนของตนเข้าไปได้เอง หรือจะแชร์โค้ดให้กับกลุ่มนักเรียน เพื่อให้พวกเขาทำการแอดตัวเองเข้ามาก็ได้

 

ประโยชน์โดยรวมของ Google Classroom

1. อาจารย์สร้างห้องเรียนออนไลน์ของวิชานั้น ๆ ขึ้นมา

2. เพิ่มรายชื่อนักศึกษาจากบัญชีของกูเกิลเข้ามาอยู่ในห้องเรียน

3.  อาจารย์สามารถนำรหัสผ่านให้นักศึกษานำไปกรอกเพื่อเข้าห้องเรียนเองได้

4.  อาจารย์ตั้งโจทย์การบ้านให้อาจารย์ทำ โดยสามารถแนบไฟล์และกำหนดวันส่งการบ้านได้

5.  อาจารย์เข้ามาทำการบ้านใน Google Docs และส่งเข้า Google Drive ของอาจารย์

7.  อาจารย์สามารถเข้ามาดูจำนวนนักศึกษาที่ส่งการบ้านภายในกำหนดแล้วและยังไม่ได้ส่งได้

8.  อาจารย์ตรวจการบ้านของนักศึกษาแต่ละคน พร้อมทั้งให้คะแนนและคำติชม

 

แนะนำการใช้งาน Google Classroom

 

การใช้งาน Google Hangout

Hangouts เป็น Application Chat ที่มีความสามารถในการพิมพ์แชทกันเหมือน Line, Whatsapp, และอื่นๆทั่วไป แต่จะมีความสามารถพิเศษในการ Hangout ที่เป็น Concept ของ Google+ เข้ามาด้วย จะเรียกว่าเป็น Video Call ก็ได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือมันสามารถ Call หากันได้ทีละหลายๆคนด้วย

 

เข้าใช้งานได้ที่ https://hangouts.google.com/ 

1. แนะนำการใช้งาน Google Hangout

2. แนะนำการใช้งาน Google Hangout Onair

 

Google Sites คืออะไร

Google Sites คือโปรแกรมของ Google ที่ให้บริการสร้างเว็บไซต์ฟรี สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่าย ปรับแต่งรูปลักษณ์ได้อย่างอิสระ และสามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลไว้ในที่เดียว เช่น วิดีโอ, ปฏิทิน, เอกสาร อื่นๆ สามารถนำมาแทรกในหน้าเว็บเพจได้ เป็นการเพิ่มลูกเล่น  ใช้งานได้ง่าย ทำให้ช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก

จุดเด่นของ Google Sites 

  • ให้บริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่จำกัด
  • มี Gadget มากมาย
  • ใช้งานได้ง่าย

 


 

การใช้งาน Google Sites

1.การเข้าถึง Drive

– เข้าถึงได้จาก http://sites.google.com หรือเมื่อ login อยู่ในระบบแล้ว ที่เมนู Google Apps เลือก “Sites”

– จะปรากฏหน้าจอ Site


 

2.การสร้างเว็บไซต์

-กด “สร้าง” (Create) เพื่อสร้างเว็บไซต์

– จากนั้นให้เลือกเทมเพลตที่ต้องการ, ตั้งชื่อเว็บไซต์, เลือกธีมแสดงในเว็บไซต์, ตัวเลือกเพิ่มเติม จากนั้นให้คลิก CREATE ตามลำดับ

 

-จะปรากฏหน้าตาเว็บไซต์

-คลิ๊ก “edit page” เพื่อแก้ไขเว็บไซต์

 

-จะปรากฏหน้าจอดังนี้

 

-เลือก “layout” เพื่อกำหนดรูปแบบของเว็บเพจ  /  เพิ่มข้อมูลเว็บไซต์

-การเพิ่มรูปภาพ

ให้เลือกเมนู “insert” และเลือก “image”

– เลือกแหล่งภาพที่ต้องการ (ภาพที่อัพโหลด หรือ จากที่อยู่เว็บ) จากนั้นคลิก “๊Upload Images”

-เลือกรูปที่ต้องการ upload จากเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นกด “OK”

– รูปจะปรากฏเข้ามาในเนื้อหา  ให้ปรับขนาดภาพ – จัดตำแหน่งให้เหมาะสม

– การเพิ่มลิงค์

นำ cursor วางตรงตำแหน่งที่ต้องการทำ link แล้วคลิกสัญลักษณ์  “Edit Page” เลือก “Insert” แล้วคลิก เลือก “Link”

-เพิ่มข้อมูล link แล้วกด OK

-จะปรากฏ link ที่เราสร้างในเนื้อหาเว็บไซต์

เมื่อทำการสร้างหน้าเพจเสร็จแล้ว  ให้กด “Save” เพื่อ save หน้าเพจ (ยังสามารถกลับมาแก้ไขหน้าเพจได้)

 


 

3.การเพิ่มหน้าเว็บไซต์

กดสัญลักษณ์ “Create Pages” เพื่อทำการเพิ่มหน้าเว็บเพจ

-เมื่อกรอกข้อมูลเว็บเพจหน้าใหม่เสร็จแล้ว ให้กด “Create” เพื่อสร้างหน้าเพจ

เมื่อสร้างหน้าเพจเสร็จแล้วกด “Save”

* ทั้งนี้สามารถแทรกเอกสาร document, slide, หรือไฟล์วีดีโอได้จาก google drive ได้  และยังสามารถแทรกfeture อื่นๆเข้ามาได้เช่น แผนที่, ปฎิทิน,  ชาร์ต เป็นต้น

 


 

4.การแชร์เว็บไซต์

เพื่อให้ผู้อื่นเข้าชมเว็บไซต์ได้  คลิ๊กที่ปุ่ม “Share”

-ระบบจะให้เลือกการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ (เมื่อจัดการสิทธิ์การเข้าชมเว็บไซต์แล้วกด save)


 

5.การเข้าชมเว็บไซต์

-ทดลองเข้าชมเว็บไซต์ โดยเปิดหน้าBrowser ใหม่  แล้วเข้าชมเว็บไซต์ได้จาก url ที่ระบุ  เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์

 

การใช้งาน Google plus+

Google plus+ เป็นบริการเครือข่ายสังคม (Social Network) ให้บริการโดย Google ทำงานโดยรวมบริการหลายอย่างของทางกูเกิลเข้าไว้ที่เดียวกัน ได้มีการวิเคราะห์มาว่าบริการตัวนี้ของกูเกิลจะเป็นคู่แข่งกับเครือข่ายสังคม Facebook

บริการต่าง ๆ ที่กูเกิลนำเสนอมีดังนี้

  • Circle สำหรับการแบ่งเพื่อนออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เหมือน Friend list บน Facebook
  • Huddle สำหรับการแชทเป็นกลุ่ม และส่งข้อความสั้น
  • Hangout สำหรับการวิดีโอแชทเป็นกลุ่ม (มากที่สุดได้ 10 คน)
  • Instant upload จะอัปโหลดรูปภาพและวิดีโอที่ถ่ายขึ้นอัลบั้มอัตโนมัติ แต่จะให้ผู้ใช้ตัดสินใจภายหลังว่าจะแบ่งปันให้กับผู้ใด ให้บริการเฉพาะแอนดรอย์เท่านั้น
  • Sparks ให้ผู้ใช้ติดตามหัวข้อและประเด็นต่าง ๆ ที่ตนชอบ
  • Streams ให้ผู้ใช้ดูอัปเดตต่าง ๆ จากเพื่อนได้ คล้ายกับ News feed บน Facebook

 

1. วิธีการเข้าใช้งาน

– เข้าถึงได้จาก http://plus.google.com/ หรือเมื่อ login อยู่ในระบบแล้ว ที่เมนู Google Apps เลือก “Google+”

 

– จะปรากฎหน้าจอการใช้งาน google+   ให้ทำการตั้งค่าส่วนบุคคลโดยเลือกเมนู “Join google+”


 

2.การสร้าง Profile

– กรอกข้อมูลส่วนบุคคล / เปลี่ยนภาพ profile ประจำตัว แล้วกด “Upgrade”

– เพิ่มบุคคลที่คุณรู้จักโดยการพิมพ์ชื่อ หรือ email address หรือ ข้อมูลอื่นๆ เพื่อใช้ค้นหาบุคคลที่คุณต้องการ แล้วกด follow

ซึ่งบุคคลที่คุณ add ก็จะเข้าไปอยู่ใน “circle” ของคุณ และจะสามารถใช้งาน “hangout” กับคุณได้ เสร็จแล้วกด “Continue”

-ระบบจะแนะนำเพจอื่นๆที่คุณอาจสนใจ  ซึ่งสามารถกด follow เพจที่คุณสนใจเพิ่มได้  / หากไม่สนใจกด “Continue” เพื่อตั้งค่าต่อไป

-กรอกข้อมูลเพิ่มเติม แล้วกด finish

-จะปรากฏหน้าตา google+ ของเราดังนี้


 

3. การโพสใน Google+

Google Documents คืออะไร

Google Documents หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Google Docs เป็นบริการออนไลน์ที่ให้คุณ สามารถจัดการเอกสารได้แบบไม่ต้องเสียเงิน เพียงแค่คุณมีอีเมล์ของ Gmail และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะ Google Docs เตรียมมาให้คุณหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์รายงานแบบที่คุ้นเคย การทำสไลด์เพื่อนำเสนองานสำคัญ หรือจะจัดการเอกสารแบบ Spreadsheets ได้เหมือน Excel ก็สามารถทำได้ Google Docs ทำงานเหมือน Microsoft Office แตทุกอย่างจะทำงานอยู่บนเว็บ สามารถทำงานได้ทันทีที่มี การเชื่อมต่ออนิเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่อง หรือเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ก่อนใช้งานแต่อย่างใด เพียงแค่เข้าไปยัง Google Docs เราก็สามารถสร้าง แก้ไข หรือเปิดอ่านเอกสารได้เลย โดยตัวเอกสารนั้นจะถูกเก็บไว้ในเซริ์ฟเวอร์ของ Google และที่สำคัญเราสามารถแชร์เอกสารให้กับเพื่อนเพื่อแก้ไข ข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดยจะเห็นว่าอีกฝ่ายกำลังพิมพ์อะไรอยู่

 

ความสามารถของ Google Docs

ความสามารถของ Google Docs มีอย่างล้นเหลือ เรียกได้ว่าตอบสนองคนที่ต้องการใช้งานเอกสาร ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเราจะมาทำความรู้จักกันอย่างละเอียดก่อนว่า Google Docs ใช้ทำอะไรได้บ้าง

 1. สร้างเอกสาร สเปรดชีต และงานนำเสนอแบบออนไลน์  

  • สร้างเอกสารพื้นฐานแบบเริ่มต้นจากศูนย์ สามารถทำงานพื้นฐานทุกประเภทได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการทำรายการสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย การเรียงลำดับตามคอลัมน์ การเพิ่มตาราง รูปภาพ ข้อคิดเห็น สูตร การเปลี่ยนแปลงแบบอักษร และอื่นๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • อัพโหลดไฟล์ของคุณที่มีอยู่แล้ว รองรับรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ ได้แก่ DOC, XLS, ODT, ODS, RTF, CSV และ PPT คุณจึงสามารถทำงานต่อไปพร้อมกับอัพโหลดไฟล์ของคุณที่มีอยู่ได้ด้วย
  • ใช้งานบนแถบเครื่องมือได้อย่างคุ้นเคยทำให้การแก้ไขเป็นเรื่องง่ายๆ เลือกตัวหนาขีดเส้นใต้ เพิ่ม สัญลักษณ์ในข้อย่อย เปลี่ยนแบบอักษร หรือรูปแบบตัวเลข เปลี่ยนสีพื้นหลังของเซลล์ และอื่นๆ เพียงคลิกปุ่มบนแถบเครื่องมือที่คุณคุ้นเคย

2. ใช้งานและทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์

  • เลือกคนที่คุณต้องการให้เข้าถึงเอกสารของคุณได้ เพียงป้อนที่อยู่อีเมลของคนที่คุณต้องการให้ใช้ งานเอกสารที่ระบุร่วมกัน แล้วส่งคำเชิญไปให้เขาเหล่านั้น ก็สามารถใช้งานเอกสารร่วมกันได้
  • ใช้งานร่วมกันได้ทันที ทุกคนที่คุณเชิญให้เข้ามาแก้ไขหรือดูเอกสาร สเปรดชีต หรือ งานนำเสนอ ของคุณ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีที่เข้าสู่ระบบ
  • แก้ไขและนำเสนอร่วมกับบุคคลอื่นในแบบเรียลไทม์ สามารถดูและแก้ไขร่วมกันได้หลายคนในเวลา เดียวกัน มีหน้าต่างสนทนาบนหน้าจอสำหรับการแก้ไขเอกสารและสเปรดชีต เพื่อแสดงให้คุณเห็น ว่าใครแก้ไขอะไรและเมื่อใด และแล้วการดูงานนำเสนอพร้อมกันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เนื่องจาก ใครก็ตามที่เข้ามาร่วมในงานนำเสนอ ต่างก็สามารถติดตามงานนำเสนอนั้นได้โดยอัตโนมัติ

3. จัดเก็บและจัดระเบียบงานอย่างปลอดภัย  

  • แก้ไขและเข้าถึงจากที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องดาวน์โหลดสิ่งใด คุณสามารถเข้าถึงเอกสารสเปรดชีต และ งานนำเสนอของคุณได้จากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีบราวเซอร์ มาตรฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • จัดเก็บงานของคุณได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออนไลน์ และการบันทึกอัตโนมัติ ช่วย ให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องฮาร์ดไดร์ฟเสียหรือไฟดับเพราะข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ ของ Google
  • บันทึกและส่งออกสำเนาได้อย่างง่ายดาย สามารถบันทึกเอกสาร และสเปรดชีตของคุณไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณในรูปแบบ DOC, XLS, CSV, ODS, ODT, PDF, RTF และ HTML ได้
  • การจัดระเบียบเอกสารของคุณ ค้นหาเอกสารของคุณได้อย่างง่ายดายด้วยการจัดระเบียบเอกสาร ในโฟลเดอร์ต่างๆ และสามารถลากและวางเอกสารต่างๆ ของคุณลงในหลายโฟลเดอร์ได้ตามที่คุณต้องการ

4. ควบคุมว่าใครสามารถดูเอกสารของคุณได้ 

  • เผยแพร่งานของคุณเป็นหน้าเว็บ คุณสามารถเผยแพร่เอกสารของคุณแบบออนไลน์ได้โดยการคลิก เพียงครั้งเดียว ก็สามารถเผยแพรผ่ลงานชิ้นสำคัญของคุณให้เป็นหน้าเว็บได้อย่างง่าย
  • ควบคุมว่าจะให้ใครเห็นหน้าเว็บของคุณได้บ้าง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกหรือจำกัดเอกสาร ให้เห็นได้ในกลุ่มเพียงแค่ส่อง สามคน หรือจะสั่งไม่ให้ใครเห็นเอกสารนั้นเลยก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่คุณจะกำหนด นอกจากนี้ยังสามารถหยุดการเผยแพร่ข้อมูลได้ตลอดเวลา
  • โพสต์เอกสารขี้นบล็อกของคุณ เมื่อคุณสร้างเอกสารเสร็จ คุณสามารถโพสต์เอกสารลงบล็อกของ คุณได้ทันที
  • เผยแพร่ภายในบริษัทหรือกลุ่มของคุณ เมื่อใช้ Google Apps จะช่วยให้ใช้งานเอกสาร สเปรดชีต และงานนำเสนอที่สำคัญร่วมกันภายในบริษัทหรอืกลุ่มของคุณได้ง่ายขึ้น

 


 

การเข้าใช้งาน Google Docs

1.การเข้าถึง Google Docs

– เข้าถึงได้จาก http://docs.google.com หรือเมื่อ login อยู่ในระบบแล้ว ที่เมนู Google Apps เลือก “Docs”

 

– จะปรากฏหน้าจอ google docs ดังนี้


 

 

2.การสร้างเอกสาร

เราสามารถสร้างเอกสารโดยเลือกจากแม่แบบที่มีอยู่ก็ได้  (โดยเลือกแม่แบบที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ แล้วเอามาแก้ไขเนื้อหาให้เป็นแบบที่เราต้องการ)  หรือสร้างจากเอกสารเปล่าๆ (blank) ขึ้นมาใหม่ก็ได้

ซึ่ง Google Docs จะมีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานคล้ายๆ microsoft word

โปรแกรมจะทำการบันทึกเอกสารให้เองโดยอัตโนมัติเมื่อมีการพิมพ์ หรือ แก้ไขเอกสาร และเมื่อปิดโปรแกรมไฟล์เอกสารจะไปอยู่ใน Google Drive โดยอัตโนมัติ


 

 

 3.การสร้าง sheets (Google Sheets)

– เลือกเมนู     และเลือก “Sheets”

-จะปรากฏโปรแกรมการสร้าง sheet ดังนี้

เราสามารถสร้างเอกสารโดยเลือกจากแม่แบบที่มีอยู่ก็ได้  (โดยเลือกแม่แบบที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ แล้วเอามาแก้ไขก็ได้)  หรือสร้างจากเอกสารเปล่าๆ (blank) ขึ้นมาใหม่ก็ได้ ซึ่ง Google Sheets จะมีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานคล้ายๆ โปรแกรม microsoft Excel

สามารถแทรกแผนภูมิ / ใส่สูตรการคำณวนได้

– ทดลองใช้สูตรคำนวณ เหมือนกับ MS Excel จะเป็นการใช้สูตร =AVERAGE(number1,[number2],….) เพื่อหาค่าเฉลี่ย


 

4. การสร้าง slides (Google Slides)

– เลือกเมนู     และเลือก “Slides”

 

-จะปรากฏโปรแกรมการสร้าง slides ดังนี้

 

เราสามารถสร้างเอกสารโดยเลือกจากแม่แบบที่มีอยู่ก็ได้  (โดยเลือกแม่แบบที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ แล้วเอามาแก้ไขก็ได้)  หรือสร้างจากเอกสารเปล่าๆ (blank) ขึ้นมาใหม่ก็ได้ ซึ่ง Google Slide จะมีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานคล้ายๆ โปรแกรม microsoft Powerpoint

-การเพิ่มลูกเล่น Animations.

เลือกเมนู insert -> Animations. /ที่หน้าต่างAnimation เลือกรูปแบบ Animation ที่ต้องการ  /กด play เพื่อดู Animation


 

 

5. การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ การสร้างเอกสารหรือทำรายงานบน Google Docs นั้นไม่ได้แตกต่างจากการใช้งาน MS Office มากนัก ความสามารถในหลายๆ ด้านยังไม่อาจเทียบกันได้ แต่ที่ Google Docs พิเศษกว่าก็คือเราสามารถ เข้าไปแก้ไขเอกสารของเราจากที่ใดก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต และยังสามารถแก้ไขเอกสารร่วมกับผู้อื่นได้พร้อมกันอีกด้วย ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องเดินทางมานั่งทำงานร่วมกัน เราสามารถช่วยกันคิด ช่วยกันทำรายงานได้จากทุกสถานที่เพียงแค่นัดเวลากันล่วงหน้า หรือหากจำเป็นจริงๆ เวลาไม่ตรงกัน คนๆนั้น ก็สามารถเข้ามาดูความคืบหน้าและแก้ไขในภายหลังได้เช่นกัน ซึ่งคนอื่นๆ ในกลุ่มสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่าใครเป็นผู้เข้ามาแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งตรวจสอบเวลาการแก้ไขได้ด้วย รวมถึงเนื้อหาส่วนใดบ้างที่ถูกแก้ไขไป

– การแชร์และการกำหนดสิทธิ์การใช้เอกสารร่วมกัน

การสร้างเอกสารแต่ละประเภทจะมีปุ่มการ share อยู่  / กดเมื่อต้องการแชร์เอกสาร หรือสามารถแชร์เอกสารจาก “Google drive” ก็ได้

-จะปรากฏหน้าต่างแชร์  /ให้ท่านกรอกบุคคลที่ต้องการแชร์เอกสารด้วย / กำหนดสิทธิ์ / และเขียนอธิบายรายละเอียด และกด send

-เมื่อเพื่อนร่วมงานเข้ามาแก้ไขเอกสารร่วมกันกับเรา เราจะสามารถเห็นการทำงานของเพื่อนร่วมงานแบบเรียลไทม์

– การติดตามการใช้งาน และแก้ไขเอกสารร่วมกัน

หากเราต้องการดูประวัติการแก้ไขเอกสาร สามารถทำได้โดยไปที่เมนู “File” แล้วคลิกเลือก “See revision history”

-ระบบจะทำการแสดงประวัติการทำงาน และสามารถ restore กลับมาเวอร์ชันที่เราต้องการได้อีกด้วย


 

6 การดาวน์โหลดไฟล์

หลังจากที่เราได้ทำการสร้างเอกสารบน Google Docs แล้ว หากต้องการนำไฟล์นั้นออกมา สามารถทำได้โดย

คลิกเมนู “File” เลือก “Download as” แล้วเลือกชนิดของไฟล์ที่เราต้องการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *